“โรคอ้วน” ปัญหาสุขภาพระดับโลก

โรคอ้วน

“โรคอ้วน” คือปัญหาระดับโลก โดยจากภาพรวมสุขภาพคนไทยช่วงปีที่ผ่านมา ดัชนีมวลกายปกติมีแนวโน้มลดลง พบภาวะอ้วน BMI (Body Mass Index) สูงมากกว่า 25% เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 48.28 ของประชากรวัยทำงาน (ข้อมูลจากกรมอนามัย) ส่งสัญญาณอันตรายต่อร่างหลายด้าน ทั้งโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันอุดตันในเส้นเลือด ล่าสุดยูเอ็น พบปีที่ผ่านโรคอ้วน คร่าชีวิตประชากรทั่วโลกไปแล้วกว่า 4 ล้านคน ขณะที่ด้านประเทศไทยพบป่วยเบาหวานแตะ 4.8 ล้านคน เสียชีวิตไปแล้วกว่า 200 คน/วัน ซึ่งสาเหตุของโรคมาจาก โรคอ้วน ผลพวงจากวิถีชีวิตเร่งรีบ รับประทานอาหารไม่มีคุณค่า ขาดการออกกำลังกาย สะสมความเครียด และมลพิษจากมลภาวะ แนะเทคนิคการสร้างสมดุลร่างกายควบคุม BMI มาตรฐานควรต่ำกว่า 25% ด้วยการปรับวิถีชีวิต สร้างสุขภาพดี ห่างไกลโรค

สาเหตุของโรคอ้วน

  1. ปัญหาหลักของโรคอ้วนเกิดจากรูปแบบการใช้ชีวิตและนาฬิกาชีวิตของแต่ละคน ที่ประกอบด้วย
  2. การรับประทานอาหาร ที่มีแคลอรี่เกินกว่าที่ร่างกายจะสามารถเผาผลาญ
  3. การพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและทำให้เกิดความหิวมากกว่าเดิม
  4. รับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูง สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ทำให้หิวมากกว่าเดิม
  5. ไม่ได้ออกกำลังกำลังกาย หรือขยับตัวเพื่อเผาผลาญไขมันส่วนเกินออก
  6. อายุที่มากขึ้น และฮอร์โมนที่ลดลงทำให้อัตราการเผาผลาญช้าลง ส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มได้ง่ายขึ้น
  7. บางส่วนที่เกิดร่วมกับปัจจัยทางพันธุกรรม

วิธีลดความเสี่ยงโรคอ้วน

เทคนิคการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ให้ห่างไกลโรคอ้วน ป้องกันก่อนเกิดโรคแทรกซ้อน ได้แก่

  1. ควรรับประทานอาหารตามนาฬิกาชีวิต (Circadian eating) ไม่รับประทานอาหารใกล้เวลานอน ทานมื้อเช้า และเน้นเลือกรับประทานอาหารธรรมชาติแบบพืชเป็นหลัก (Whole-food Plant-based)
  2. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและอาหารแปรรูปเป็นประจำ
  3. ออกกำลังกายหรือสร้างนิสัยให้เป็นคนที่มี Active lifestyle
  4. ทำจิตใจแจ่มใสอยู่เสมอ คิดบวก และรู้จักปล่อยวาง

ที่สำคัญต้องนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอไม่นอนดึกเป็นนิสัย เพื่อที่จะให้ร่างกายได้สร้างโกรทฮอร์โมน ได้อย่างเต็มที่ เพราะนอกจากจะส่งผลโดยตรงต่อระดับการเผาผลาญไขมันส่วนเกินแล้ว ยังส่งผลต่อระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร คือ ฮอร์โมนเกอลิน (Ghrelin) ที่จะบอกให้ร่างกายรู้สึกหิว และ ฮอรโมนเลปติน (Leptin) ที่จะบอกให้สมองสั่งการให้หยุดกินและรู้สึกอิ่ม ถ้านอนไม่พอ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเกอลินเพิ่มขึ้นและ ฮอร์โมนเลปตินลดลง ส่งผลให้รู้สึกหิวอยู่ตลอดและไม่รู้สึกอิ่ม