“กระดูกพรุน” กินแคลเซียมรักษาไม่ได้ โรคกระดูกพรุน เป็นความเสื่อมที่เกิดขึ้นตามวัย และการขาดฮอร์โมนเพศหญิง จึงไม่สามารถฟื้นมวลกระดูกให้สมบูรณ์ดังเดิมได้ อย่างไรก็ตาม เราสามารถช่วยชะลอความเสื่อมของกระดูกลงได้ โดยแพทย์แนะนำให้กินอาหารที่มีแคลเซียมสูงร่วมกับวิตามิน และปรับระดับฮอร์โมนในกรณีที่เป็นหญิงวัยหมดประจำเดือน
- สาเหตุของกระดูกพรุน
1.1 ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอตั้งแต่ช่วงวัยหนุ่มสาว ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายสามารถสร้างความหนาแน่นให้กระดูกมากที่สุด
1.2 ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
1.2 ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาออร์ติโซน สำหรับโรคไขข้ออักเสบ, โรคหืด, ยาเฮปาริน สำหรับโรคหัวใจ และความดันโลหิต รวมถึงการรักษาโดยการฉายรังสี
1.3 สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ทำให้ความแข็งแรงของมวลกระดูกลดลง
1.4 ฮอร์โมนลดลง โดยเฉพาะเพศหญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน
1.5 ขาดการออกกำลังกาย สูญเสียความแข็งแรงของกระดูกไปตามวัย
1.6 ร่างกายขาดแคลเซียมเพราะขาดวิตามินดีที่ใช้ในการดูดซึมแคลเซียมไปใช้ในร่างกาย
2. การป้องกันโรคกระดูกพรุน
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการออกกำลังกายกลางแจ้งที่มีแดดอ่อนๆ เช่น ช่วงเช้า หรือช่วงเย็นรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นมพร่องไขมันเนย ปลากระป๋อง ปลาที่รับประทานพร้อมกระดูกได้ ผักผลไม้ต่างๆ เป็นต้นหากมีอาการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับกระดูก ควรรีบเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็ว ไม่ปล่อยทิ้งไว้นานจนเกินเยียวยา